อโหสิกรรม คืออะไร? ทำอย่างไร? และทำเพื่ออะไร?
การขออโหสิกรรมคืออะไร
อโหสิกรรม คือ กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เลิกให้ผล เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก
คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ ๒ คำ คือ
- อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ได้มีแล้ว” หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้วในภาษาไทยคำว่า อโหสิกรรม มีความหมายว่า
การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน การเลิกจองเวรกัน
ด้านดีของการอโหสิกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่า
1) กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น สำเร็จในชีวิตนี้ และส่งผลชีวิตหน้า บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้าแต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม นั่นคือ ในฐานะที่ชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
2) อานิสงส์สูง เพราะละการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ยกระดับก้าวสู่มรรคผลนิพพาน อโหสิกรรมหรืออภัยทาน-สามารถทำได้จากความเมตตาที่มีอยู่เพียงพอในจิตใจ จึงมีอานิสงส์ใกล้เคียงกับธรรมทาน ที่ถือว่ามีอานิสงส์สูง เพราะเป็นการให้ปัญญา-แสงสว่างเพื่อพัฒนาจิตใจของผู้อื่นให้ก้าวหน้าไปสู่มรรค-ผล-นิพพานในที่สุดต่อไปตามวาสนาบารมีแห่งตนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการตัดอัตตา-ตัวตน การยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความทุกข์กับคนทุกคน ถ้าเรายกโทษ ไม่เอาโทษให้ผู้อื่นได้ เท่ากับเราได้สละตัวตนเราออกไปแล้ว เป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้เราและผู้อื่นที่เรายกโทษให้เขา ได้ก้าวขึ้นไปสู่อริยมรรค-อริยผล-และพระนิพพานในอนาคตได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น
วิธีการขออโหสิกรรม
1) ด้วยการอโหสิร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างเอ่ยให้อีกฝ่ายรับรู้ด้วยใจ ยิ่งทั้งสองฝ่าย มีความหนักแน่น จิตใจคิดอโหสิอย่างบริสุทธิ์ใจเท่าไหร่ ก็ยิ่งขาดจากเวรได้เด็ดขาดเท่านั้นมักไม่ใช่จู่ ๆ เดินเข้ามาออกปากอภัยกันดื้อ ๆ ส่วนใหญ่ต้องร่วมสถานการณ์เลวร้ายกันมาระยะหนึ่ง แล้วมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสำนึกได้ จึงชักชวนกันทำดีแก่กัน เช่นพูดจาญาติดีกัน มีใจเห็นภัยของพยาบาทร่วมกัน แล้วจึงปลงใจคิดอโหสิแก่กัน และต่อมาไม่มีเวรทางกาย วาจา ใจร่วมกันอีกตลอดชีวิต (เชื่อว่า หากทำได้ระยะยาว นั่นคือ กำลังของเวรจากอดีตชาติพ่ายแพ้ต่อกำลังอโหสิในชาติปัจจุบัน) ถ้าเจอกันใหม่ ก็คงเจอด้วยความรู้สึกด้านดี
2) ด้วยการอาศัยสัจจวาจาในการทำบุญร่วมกัน คือ เมื่อทำบุญใหญ่ร่วมกันแล้วอ้างบุญใหญ่ที่ทำร่วมกันว่า ทำด้วยใจมีไมตรีต่อกัน ขอให้อานิสงส์ จงช่วยล้างเวรภัยระหว่างกัน หากกำลังบุญนั้นถึงพร้อม (เช่น ถวายสังฆทานกับพระอริยสงฆ์) ก็จะทำให้เกิดความอบอุ่น เบิกบานใจร่วมกัน โดยผ่านพ้นแรงอาฆาตเก่า ๆ ได้ จะรู้สึกกันเดี๋ยวนั้นว่า หมดภัยหมดเวรต่อกันแล้ว ๓) ด้วยขอโทษ และมีการยกโทษให้จากใจจริง เมื่อเกิดการประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้ เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้าความจริงใจในการอโหสิกรรม ความสำคัญของความสมัครใจ / ความจริงใจที่จะอโหสิกรรมให้กันนั้น อยู่ที่ความคิดขออภัย ให้อภัย ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน ซึ่งพึงระวัง เนื่องจากว่า โดยมากนั้น มักจะเป็นการขออโหสิแบบมีมานะ หรือเจือด้วยโทสะแฝงในใจลึก ๆ
บางท่านเจตนาขออภัย/ขออโหสิจริง ๆ แต่แล้วในวันหนึ่ง เกิดคิดเล็กคิดน้อยขึ้นมาอีกแบบอดไม่ได้ตามประสาปุถุชน จึงมีผลให้การอโหสิกรรมนั้นให้ผลไม่เต็มที่
สามารถขออโหสิกรรม ได้จากทุกคนบทสวดขอขมากรรม ขออโหสิกรรม คำอธิษฐานอโหสิกรรม เจ้ากรรมนายเวร สำหรับใครที่อยากขอขมาเจ้ากรรมนายเวร หลังทำบุญ หลังสวดมนต์ก่อนนอน หรือขณะจุดธูปขอขมาเจ้ากรรมนายเวร ก็สามารถกล่าวบทสวดนี้ได้
บทสวดขอขมากรรม ขออโหสิกรรม คำอธิษฐานอโหสิกรรม เจ้ากรรมนายเวร
ตั้งนะโมฯ 3 จบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
และต่อด้วย บทสวดขอขมากรรม ขออโหสิกรรม เจ้ากรรมนายเวร
กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมังอะสัญจิจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม
กรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น